พิชิตฟากฟ้า

Oyster Perpetual GMT‑Master ได้เปิดตัวในปี 1955 ซึ่งเป็นยุคทองของการบินพาณิชย์

ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างเวลาและการเดินทางกำลังพัฒนาไปเรื่อยๆ เที่ยวบินสามารถข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปได้โดยที่ผู้โดยสารไม่จำเป็นต้องหยุดแวะพัก ด้วยเหตุผลที่นาฬิกาออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับนักบิน GMT-Master เลยกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจของนักบินและนักท่องเที่ยวทั่วโลก

4 ปีหลังการเปิดตัว GMT-Master ก็ได้มีบทบาทสำคัญในฐานะนาฬิกาที่ทำให้ผู้คนที่อยู่คนละเขตเวลาสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ เพราะเที่ยวบิน Pan Am ได้ทำการบินข้ามทวีปจากนิวยอร์กถึงกรุงมอสโควโดยไม่มีการหยุดพักเป็นครั้งแรก

โฆษณา GMT-Master

เที่ยวบินทดสอบของคองคอร์ด

ในทศวรรษ 1960 เครื่องบินโดยสารคองคอร์ดที่บินด้วยความเร็วเหนือเสียงลำแรกได้ขึ้นบินทดสอบเที่ยวสุดท้าย และ Rolex ได้ประกาศอย่างภาคภูมิใจว่านักบินทดสอบชาวอังกฤษและชาวฝรั่งเศสทั้งสองต่างสวมใส่นาฬิการุ่น GMT-Master ซึ่งเป็นการตอกย้ำถึงสถานะความสัมพันธ์ของ GMT-Master และยุคของการบินด้วยความเร็วเหนือเสียง

โครงการ X-15

รวดเร็วราวกับดาวตก

Scott Crossfield นักบินคนแรกที่ทำการทดสอบในวันที่ 2 มีนาคม 1951 ได้เข้าร่วมโครงการ X-15 โครงการที่เต็มไปด้วยความทะเยอทะยานได้เริ่มต้นขึ้นในปี 1956 โดยมีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ให้เป็นเครื่องยนต์ที่ทรงพลังมากขึ้นที่จะขับเคลื่อนจรวดอวกาศลำแรกได้ โดย Crossfield ได้ทำการบินทดสอบทั้งสิ้น 14 เที่ยวบิน ในระหว่างการทดสอบช่วงเดือนตุลาคมของปี 1962 เขาได้เขียนถึง Rolex ว่านาฬิกาของเขาทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบภายใต้อุณหภูมิ –54 °C (–65 °F) ถึง 75 °C (170 °F) เช่นเดียวกับที่ระดับความสูง 76,000 เมตร (249,000 ฟุต) จากการจำลองในห้องปรับความดันบรรยากาศสูงและ 28,000 เมตร (92,000 ฟุต) ในเที่ยวบินจริง

1 ในนักบินของโปรแกรมทดสอบยังคงเป็นที่รู้จักในฐานะมนุษย์ที่เร็วที่สุดตลอดกาลที่ถูกพูดถึงจากนักวิจารณ์แห่งยุค ในวันที่ 3 ตุลาคม 1967 ในเครื่องบินจรวด X-15 นาวาอากาศโทและวิศวกรของกองทัพอากาศสหรัฐฯ William J. Knight ได้สร้างสถิติใหม่ที่สูงที่สุดมาจนถึงทุกวันนี้ นั่นคือ 7,274 กิโลเมตร (4,520 ไมล์) ต่อชั่วโมง - มัค 6.7 และสิ่งที่สวมอยู่บนข้อมือของเขาก็คือ GMT-Master

และในวันนี้ ความท้าทายคือการคงไว้ซึ่งการผจญภัยของการบิน Rolex จะคอยเคียงข้างผู้ที่พยายามทำให้ความฝันนี้คงอยู่ตลอดกาล

Jeana Yeager และ Dick Rutan

เพื่อก้าวต่อไปที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม

ตั้งแต่กำเนิดการบินขึ้นมา มนุษยชาติก็มีความต้องการที่จะเดินทางให้ได้เร็วขึ้นและบินได้สูงขึ้นอยู่เสมอ แต่สำหรับผู้มีวิสัยทัศน์บางคน เขากลับมีภารกิจอย่างอื่นที่ต้องการทำ นั่นคือการเดินทางไปให้ไกลและนานกว่าเดิม Sheila Scott คือหนึ่งในผู้คนเหล่านั้น ในปี 1966 Sheila Scott ได้กลายเป็นหญิงชาวอังกฤษคนแรกที่สามารถบินเดี่ยวรอบโลกด้วยเครื่องบินแบบหนึ่งเครื่องยนต์ได้สำเร็จ เธอและเครื่องบินลำเล็กๆ นี้ได้กลับมาพร้อมกับระยะทาง 50,000 กิโลเมตร (31,000 ไมล์) โดยใช้เวลาในการบินทั้งสิ้น 189 ชั่วโมงภายใน 33 วัน และ Scott ได้สวมใส่ GMT-Master เช่นกัน เธอยังได้สร้างสถิติการบินเดี่ยวทางไกลอีกกว่า 100 รายการ และหนึ่งในนั้นคือเที่ยวบินตรงที่ยาวนานที่สุด โดยบินจากลอนดอนไปยังเคปทาวน์และกลับมาโดยไม่มีการลงจอดแต่อย่างใด