Sea-Dweller

พลเมืองแห่งทะเลลึก

ตระหง่านท้าทายแรงดันของสายน้ำ

Rolex สร้างสรรค์นาฬิกา Oyster Perpetual Sea-Dweller ขึ้นในปี 1967 เพื่อท้าทายภารกิจใต้น้ำที่มีมาอย่างยาวนาน โดยพัฒนาขึ้นภายใต้ความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญจากสถาบัน Comex (Compagnie Maritime d'Expertises) และปัจจุบันสามารถกันน้ำได้ถึง 1,220 เมตร (4,000 ฟุต) นาฬิการุ่น Sea-Dweller ออกแบบขึ้นเป็นพิเศษเพื่อการดำน้ำแบบอิ่มตัวใต้น้ำทะเลความดันสูง โดยมีวาล์วคายฮีเลียมที่ช่วยให้นาฬิกาทนทานต่อแรงดันน้ำที่เพิ่มสูงได้ และสามารถทำงานได้อย่างปกติเมื่อกลับสู่ผิวน้ำในขั้นตอนสุดท้ายของการสำรวจใต้น้ำลึกทุกภารกิจ

ค่อยๆ คายแรงดันภายในเมื่อแรงดันน้ำพุ่งสูงขึ้น

Inhabitant of the sea

ชีวิตที่แวดล้อมด้วยท้องทะเล

การดำน้ำแบบอิ่มตัวเกิดขึ้นมาในช่วงทศวรรษ 1960 เพื่อให้นักดำน้ำสามารถใช้ชีวิตใต้ท้องทะเลลึกได้นานขึ้น นักดำน้ำจะต้องใช้ชีวิตในห้องปรับแรงดัน ที่มีแรงกดอากาศเท่ากับสิ่งแวดล้อมใต้น้ำที่พวกเขาลงไปสำรวจ นั่นหมายความว่าพวกเขาจะต้องเข้าสู่กระบวนการคายแรงดันในช่วงท้ายของภารกิจเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

ซึ่งนั่นทำให้นาฬิกาของพวกเขาเสียหายได้ นอกจากนี้ ลมหายใจของนักดำน้ำยังประกอบไปด้วยฮีเลียม ซึ่งมีอะตอมที่มีขนาดเล็กมากจนสามารถซึมซาบเข้าสู่ตัวเรือนนาฬิกาได้ เมื่อกลับขึ้นมาบนผิวน้ำ ฮีเลียมที่กักไว้ในตัวเรือนจะทำปฏิกิริยาที่เพิ่มแรงดันภายในนาฬิกาให้มีมากเกินจำเป็น ซึ่งเพิ่มโอกาสที่จะทำให้นาฬิกาสำหรับนักดำน้ำเสียหายได้

เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ Rolex จึงเปิดตัวนาฬิกาสำหรับนักดำน้ำรุ่น Sea-Dweller ที่มาพร้อมวาล์วคายฮีเลียม ในปี 1967 วาล์วนิรภัยอันเป็นเอกลักษณ์นี้จะเปิดออกโดยอัตโนมัติ เมื่อแรงดันภายในตัวเรือนสูงเกินไป เพื่อให้นาฬิกาคายอะตอมของฮีเลียมออกมา

Sea-Dweller
เลนส์ Cyclops
Sea-Dweller เวอร์ชัน Rolesor

มิติใหม่แห่งการดำน้ำ

ภารกิจใต้น้ำใหม่ๆ นั้นมีมากขึ้นนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 โดยมีการเสาะแสวงหาภารกิจรูปแบบใหม่อยู่ตลอดเวลา นักดำน้ำไม่เพียงแต่ต้องเผชิญกับภารกิจที่ใช้เวลาดำน้ำแบบอิ่มตัวนานขึ้น หากแต่ยังต้องลงไปใต้น้ำลึกขึ้นกว่าเดิมด้วย นาฬิกาสำหรับมืออาชีพที่ออกแบบขึ้นสำหรับภารกิจเหล่านี้โดยเฉพาะจึงจำเป็นที่จะต้องทนทานในสภาวะที่มีความดันสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความลึกของน้ำ

นาฬิการุ่น Sea-Dweller เป็นนาฬิกาสำหรับนักดำน้ำรุ่นหนึ่งที่รวบรวมคุณสมบัติเหล่านี้เอาไว้ ด้วยประสิทธิภาพการกันน้ำที่รับประกันไว้ที่ความลึก 610 เมตร (2,000 ฟุต) ในตอนเปิดตัวในปี 1967 จนถึงที่ความลึก 1,220 เมตร (4,000 ฟุต) ในปัจจุบัน

นาฬิการุ่น Sea-Dweller ทดสอบกับผู้ใช้งานจริงโดยการเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจสำรวจสิ่งแวดล้อมใต้น้ำภารกิจแรกๆ ของโลกอย่างโปรแกรม Tektite ซึ่งริเริ่มโดยความร่วมมือของนาซ่า นาวิกโยธินสหรัฐ และรัฐบาลสหรัฐ ในปี 1969

การเผชิญกับความลึก คือจุดมุ่งหมายสำคัญในการทำงานของเรา

ทดสอบความดัน

ลึกกว่าที่เห็นบนผิวน้ำ

ในปี 1971 Rolex ได้เป็นพันธมิตรกับ Comex อย่างเป็นทางการ และนาฬิกา Sea-Dweller ได้กลายเป็นอุปกรณ์ประจำตัวของนักดำน้ำของ Comex ที่เคยทำลายสถิติโลกในด้านนี้มาแล้ว Comex เป็นบริษัทของฝรั่งเศส มีความเชี่ยวชาญในเรื่องวิศวกรรมใต้น้ำ สิ่งประดิษฐ์ และความช่วยเหลือเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมใต้น้ำ และ Comex ยังเป็นผู้ประดิษฐ์ห้องปรับบรรยากาศ ที่เอาไว้ใช้สำหรับการพัฒนาการฝึกอบรมนักวิจัยทางสมุทรศาสตร์ นักขับเครื่องบินรบ และนักบินอวกาศโดยเฉพาะ

Comex ยังได้ทำงานร่วมกับ Rolex ในการออกแบบและพัฒนาถังปรับความดันบรรยากาศสูง เพื่อนำมาใช้ทดสอบการกันน้ำของนาฬิกาในกระบวนการรับรอง Superlative Chronometer การคิดค้นนี้ถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญในการเป็นพันธมิตรของทั้งสององค์กร ถังปรับความดันบรรยากาศสูงถูกนำมาใช้เพื่อทดสอบความทนทานของนาฬิกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนาฬิกาสำหรับนักดำน้ำลึกสุดขั้วอย่างรุ่น Deepsea Challenge ด้วยความลึกที่สูงถึง 13,750 เมตร (45,112 ฟุต)

  • หน้าปัด Sea-Dweller
    ดูข้อมูลเพิ่มเติม
  • คำสลักบนหน้าปัด Sea-Dweller
    ดูข้อมูลเพิ่มเติม