Milgauss
เกียรติยศของวงการวิทยาศาสตร์
Oyster Perpetual Milgauss คือผู้นำนาฬิกาที่มีคุณสมบัติในการต้านทานคลื่นแม่เหล็ก ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มวิศวกรรวมถึงนักวิทยาศาสตร์
รังสรรค์ขึ้นในปี 1956 นาฬิการุ่นนี้สามารถทนต่อสนามแม่เหล็กได้สูงถึง 1,000 เกาส์ ซึ่งที่มาของคำว่า “mille” ในชื่อรุ่นนาฬิกามาจากภาษาฝรั่งเศสมีความหมายว่าหนึ่งพัน นับเป็นนาฬิกาเรือนแรกในประเภทนี้ Milgauss ผสมผสานความงดงามอันเป็นเอกลักษณ์และสืบทอดความเป็นวิทยาศาสตร์โดยแท้จริง
-
เอกลักษณ์
เหนือระดับการออกแบบ
-
-
แม้กาลเวลาผ่านไป นาฬิการุ่น Milgauss ยังคงสืบทอดความเป็นวิทยาศาสตร์และความงามอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ด้วยเข็มบอกวินาทีสีส้มรูปทรงเหมือนสายฟ้าได้รับแรงบันดาลใจมาจากต้นแบบดั้งเดิม ผสานกับเส้นสายที่เกลี้ยงเกลา จึงไม่น่าแปลกใจที่นาฬิการุ่นนี้จะได้รับการจดจำในทันทีแม้เพียงแรกเห็น
-
-
คริสตัลสีเขียวที่เปิดตัวครั้งแรกในอุตสาหกรรมทำนาฬิกา เมื่อ Rolex นำมาใช้กับนาฬิการุ่น Milgauss ซึ่งปรับโฉมใหม่ในปี 2007 โดยทำมาจากแซฟไฟร์สังเคราะห์ที่ป้องกันการขีดข่วนได้อย่างดี และทำให้การอ่านเวลาทำได้ง่าย
-
-
-
Milgauss ประกอบด้วยหน้าปัด Z-blue สีน้ำเงินแบบพิเศษที่มีเฉพาะในนาฬิกา Rolex รุ่นนี้เท่านั้น หรือประกอบด้วยหน้าปัดสีดำที่มีมาร์กเกอร์ชั่วโมงโดดเด่นสีส้มบนตำแหน่ง 3, 6 และ 9 นาฬิกา สะท้อนความงดงามของเข็มบอกวินาทีสีเดียวกัน มาร์คเกอร์ชั่วโมงของทั้งสองเวอร์ชันตกแต่งด้วยวัสดุเรืองแสงที่ปล่อยแสงสีฟ้าสว่างสะดุดตาในความมืดมิด
-
ต้านทาน
การแทรกแซง
ของคลื่นแม่เหล็กคุณสมบัติเด่น
-
-
-
นวัตกรรมอันเป็นหัวใจสำคัญในการต้านทานแรงแทรกแซงคลื่นแม่เหล็กของ Milgauss คือ เกราะที่อยู่ภายในตัวเรือน Oyster เกราะป้องกันนี้ประกอบด้วยสองส่วนที่ผลิตจากอัลลอยเฟอร์โรแมกเนติกต่างชนิดตามลำดับเพื่อโอบล้อมและปกป้องกลไกการทำงาน และการสลักนูนสัญลักษณ์ความหนาแน่นของ
ฟลักซ์แม่เหล็ก ตัว “B” พร้อมลูกศรด้านบนตัวอักษร -
-
นาฬิการุ่น Milgauss ประกอบด้วยกลไกการทำงาน calibre 3131 หรือกลไกการไขลานอัตโนมัติที่พัฒนาและผลิตขึ้นโดย Rolex เพียงผู้เดียว งานสถาปัตยกรรม การผลิต และนวัตกรรมใหม่ทำให้นาฬิการุ่นนี้มีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก
-
-
แฮร์สปริง Parachrom สีฟ้าที่บางกว่าเส้นผมมนุษย์ คือชิ้นส่วนสำคัญของ calibre 3131 ช่วยเสริมการต้านทานแรงแทรกแซงคลื่นแม่เหล็กของ Milgauss มีความเสถียรสูงเมื่อต้องเผชิญกับความผันผวนของอุณหภูมิ และเที่ยงตรงมากกว่าแฮร์สปริงแบบดั้งเดิมเมื่อเกิดการกระแทกถึง 10 เท่า พร้อมการติดตั้งโอเวอร์คอยล์ของ Rolex เพื่อรับประกันถึงการทำงานเป็นปกติในทุกตำแหน่ง
-
การสืบสาน
ทางวิทยาศาสตร์ความเป็นสากล
-
CERN
องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรปตั้งอยู่ใกล้กรุงเจนีวาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คลังภาพ -
ทศวรรษ 1950 เป็นช่วงเวลาแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ วิศวกรและช่างเทคนิคจำนวนมากต้องคลุกคลีกับสนามแม่เหล็กในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของนาฬิกาพวกเขาเป็นอย่างมาก เพื่อตอบโจทย์ปัญหานี้ ในปี 1956 Rolex จึงรังสรรค์ Milgauss ขึ้น นาฬิการุ่นนี้ได้รับการออกแบบเพื่อให้ทนต่อสนามแม่เหล็กได้สูงถึง 1,000 เกาส์ ด้วยเกราะป้องกันคลื่นแม่เหล็กช่วยปกป้องกลไกการทำงานของนาฬิกา
-
ปี 1956
Oyster Perpetual Milgauss เรือนแรก -
ในช่วงปลายทศวรรษ 1950 หลังจากที่ Milgauss ได้เปิดตัว Rolex ขอให้กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ของอนุภาคที่ CERN ช่วยทดสอบนาฬิกา พวกเขาได้ยืนยันถึงคุณสมบัติในการทนต่อแม่เหล็ก
-
Large Hadron Collider
เครื่องชนอนุภาคแฮดรอนขนาดใหญ่ที่สุดของโลก สร้างขึ้นโดย CERN ตั้งอยู่ในอุโมงค์ใต้ดินที่ทอดยาวถึง 27 กิโลเมตร (17 ไมล์) -
จวบจนปัจจุบันนับเป็นระยะเวลามากกว่า 60 ปีที่ Rolex ยังคงเป็นพาร์ทเนอร์ของ CERN และให้การสนับสนุนเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการประชุมทางวิทยาศาสตร์และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่างๆ สานสายสัมพันธ์แนบแน่นบนค่านิยมเดียวกัน Rolex และ CERN ได้ร่วมมือกันผ่านความหลงใหลในวิทยาศาสตร์ รวมถึงความมุ่งมั่นต่อความแม่นยำและความเป็นเลิศ
ติดต่อตัวแทนจำหน่ายเกี่ยวกับ Milgauss
ตัวแทนจำหน่าย Rolex อย่างเป็นทางการเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายนาฬิกา Rolex ด้วยทักษะที่จำเป็นและเทคโนโลยีโนว์-ฮาว พวกเขาจะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดที่จะอยู่กับคุณไปตลอดอายุการใช้งาน