ตัวเรือน Oyster ถือเป็นหัวใจสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของการผลิตนาฬิการ่วมสมัย คิดค้นโดย Rolex ในปี 1926 นับเป็นเป็นตัวเรือนกันน้ำสำหรับนาฬิกาข้อมือชิ้นแรกของโลกที่ Rolex ได้จดสิทธิบัตรระบบการขันสกรูยึดขอบ ด้านหลังของตัวเรือน และเม็ดมะยมเข้ากับตัวเรือนตรงกลาง ตัวเรือนนาฬิกาที่เปี่ยมด้วยความสง่างามและได้สัดส่วนที่สมบูรณ์แบบนี้ คือสัญลักษณ์ของความทนทานและการกันน้ำ นับเป็นการผสมผสานรูปแบบและการทำงานเข้าด้วยกันได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นรุ่นที่ทำจาก Oystersteel, ทองคำ 18 กะรัต หรือแพลทินัม 950
-
ความแข็งแรง
ในแนวคิดตัวเรือน Oyster
-
-
-
งานผลิตที่ปิดสนิทของตัวเรือนนาฬิกาช่วยทำให้นาฬิกา Oyster ทุกเรือน
รับประกันการกันน้ำที่ความลึกระดับ 100 เมตร (330 ฟุต) เป็นอย่างน้อย และลึกถึง 3,900 เมตร (12,800 ฟุต) สำหรับนาฬิการุ่น Rolex Deepsea ที่ผลิตขึ้นสำหรับนักดำน้ำลึก -
-
ตัวเรือนตรงกลางแบบแข็ง
ตัวเรือนตรงกลางของ Oyster (ส่วนที่อยู่ตรงกลางของตัวเรือน) ถูกกดพิมพ์และตัดออกมาจากบล็อกของ Oystersteel ทองคำ 18 กะรัต หรือแพลทินัม
ตัวเรือนมีความทนทานมากเป็นพิเศษ ถือเป็นแกนหลักสำหรับจับยึดชิ้นส่วนอื่นๆ ทั้งหมดของตัวเรือนไว้อย่างแน่นหนา นาฬิกาในรุ่นสำหรับมืออาชีพเฉพาะบางรุ่นมีแผ่นป้องกันตัวมงกุฎด้านข้าง แผ่นเหล่านั้นจะผนึกรวมเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรือนตรงกลาง -
-
ด้านหลังตัวเรือนที่ยึดไว้ด้วยสกรู พร้อมการเซาะร่องของ ROLEX
ด้านหลังของตัวเรือน Oyster ถูกเจาะยึดไว้ด้วยสกรูเข้ากับตัวเรือนตรงกลางอย่างแน่นหนา งานเซาะร่องที่เป็นเอกลักษณ์บนด้านหลังตัวเรือน Oyster ซึ่งเป็นตำนานของ Oyster ปี 1926 ต้องประกอบเข้ากับนาฬิกาด้วยเครื่องมือพิเศษที่มีเฉพาะช่างทำนาฬิกาของ Rolex เท่านั้นที่นำมาใช้ และมีเพียงช่างทำนาฬิกาเหล่านี้เท่านั้นที่เปิดดูระบบกลไกภายในได้
เม็ดมะยม
เม็ดมะยมของนาฬิกา Rolex ประกอบด้วยชิ้นส่วนกว่า 10 ชิ้น และยึดเข้ากับตัวเรือนไว้อย่างแน่นหนา นับเป็นผลงานชิ้นเอกของความสามารถอันเหนือชั้นด้านเทคนิค นี่คือวิธีการที่ Rolex ประกอบเม็ดมะยมเข้ากับนาฬิกา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการทำนาฬิกา ส่วนเชื่อมประสานที่แน่นหนาระหว่างโลกภายในของนาฬิกาที่ได้รับการปกป้องและซีลไว้อย่างแน่นหนากับโลกภายนอกที่มีแต่ภยันตราย
เม็ดมะยม Twinlock และ Triplock ของ Rolex ใช้ส่วนที่ปิดผนึกสองหรือสามส่วน เพื่อสร้างกลไกป้องกันน้ำให้ได้เทียบเท่ากับประตูของเรือดำน้ำเลยทีเดียว

ตัวเรือน Oyster ถือเป็นหัวใจสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของการผลิตนาฬิการ่วมสมัย
เลนส์ Cyclops
เลนส์ขยายที่ Rolex จดสิทธิบัตรในปี 1953 นำมาใช้ขยายวันที่ที่เด่นเป็นพิเศษของ Datejust ได้รับการตั้งชื่อตามยักษ์ตาเดียวในเทวตำนานของชาวกรีก คุณสมบัติเด่นของนาฬิกา Rolex จำได้ง่ายจากระยะไกล ทำจากแซฟไฟร์ป้องกันรอยขีดข่วนแบบเดียวกับที่ใช้ทำคริสตัลที่แซฟไฟร์วางอยู่ มีระบบเคลือบป้องกันการสะท้อนสองชั้นเพื่อความชัดเจนพิเศษจนอ่านวันที่ได้ง่าย

-
ขอบนาฬิกา
รูปแบบและฟังก์ชัน
-
-
ที่ Rolex ส่วนของรูปแบบและระบบการทำงานเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นความจริงมากเมื่อพิจารณาถึงขอบนาฬิกา องค์ประกอบสำคัญที่บ่งบอกถึงความเป็นนาฬิการุ่น Oyster ขอบนาฬิกาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบยึดอยู่กับที่หรือหมุนได้นั้น เป็นที่รู้จักมานานหลายปีแล้ว และมาพร้อมกับฟังก์ชันใหม่ๆ ตามประเภทของนาฬิกา: เวลาดำน้ำ เขตเวลาที่สอง การแสดงเวลาแบบ 24 ชั่วโมง หรือสเกลเครื่องวัดความเร็ว เป็นต้น
-
-
ขอบหน้าปัดแบบเซาะร่อง
แต่เดิมร่องของขอบหน้าปัด Oyster มีวัตถุประสงค์ด้านการใช้งาน มันทำหน้าที่ยึดขอบหน้าปัดลงบนตัวเรือนเพื่อประกันประสิทธิภาพในการกันน้ำของนาฬิกา ดังนั้นจึงเหมือนกับร่องบริเวณด้านหลังตัวเรือน ซึ่งต้องใช้เครื่องมือพิเศษเฉพาะของ Rolex ในการยึดลงบนตัวเรือนเพื่อการกันน้ำ