กลไกการทำงาน Perpetual ที่ซ่อนอยู่ในตัวเรือนกันน้ำยังเป็นส่วนที่ผู้สวมใส่จะมองไม่เห็น
มีเพียงช่างทำนาฬิกาที่ Rolex ให้การรับรองเท่านั้นที่จะสามารถเปิดดูส่วนนี้ได้ด้วยเครื่องมือพิเศษ และเมื่อได้รับเกียรติให้ชื่นชมส่วนประกอบภายใน จึงไม่แปลกใจเลยที่กลไกที่สลับซับซ้อนนี้ที่เป็นที่เลื่องลือในแง่สมรรถนะของความเที่ยงตรงสูงนั้นสมควรได้รับการยกย่องอย่างแท้จริง: นี่คือผลงานศิลปะ จักรวาลขนาดจิ๋วอันน่าอัศจรรย์ รูปทรงต่างๆ ที่มีมากมายจนนับไม่ถ้วน ฟอร์ม วอลุ่ม สีและพื้นผิว ชิ้นส่วนบางชิ้นขัดจนขึ้นเงา บางชิ้นตกแต่งด้วยซาติน บางชิ้นเป็นรูปทรงกลมเนื้อละเอียด ทั้งหมดได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี ตามธรรมเนียมปฏิบัติในการทำนาฬิกา

สถาปัตยกรรมโดยทั่วไป
กลไกการทำงานพร้อมระบบไขลานอัตโนมัติ ซึ่งทั้งหมดได้รับการรับรองว่าคือโครโนมิเตอร์โดย Swiss Official Chronometer Testing Institute (COSC) ผ่านการออกแบบและผลิตขึ้นมาทั้งหมดโดย Rolex ที่พิจารณาจากคุณลักษณะเฉพาะที่มีร่วมกัน Rolex ยืนยันที่จะให้ความสำคัญเรื่องประสิทธิภาพในระดับสูงและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เป็นข้อบังคับในเรื่องของความเที่ยงตรง ความน่าเชื่อถือ การทนทานต่อแรงกระแทก ระบบไขลานอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพและการบำรุงรักษาได้โดยไม่ยุ่งยาก
-
หัวใจสำคัญ
ของกลไก
การทำงานความเที่ยงตรงของนาฬิกา
-
-
จักรกรอกและแรงเฉื่อยผันแปร
จักรกรอกขนาดใหญ่ที่ยึดไว้ด้วยน็อต Microstella ทองคำช่วยในเรื่องการควบคุมความเที่ยงตรงและทำให้นาฬิกามีความเสถียรมาก -
-
แฮร์สปริงพร้อมโอเวอร์คอยล์ของ ROLEX
คอยล์ด้านนอกสุดของแฮร์สปริงจะม้วนเข้าสู่ตรงกลางเพื่อเป็นเกราะป้องกันผลกระทบจากแรงดึงดูด ลักษณะนี้จะทำให้เกิดกระบวนการออสซิลเลชั่นที่สมดุลและมีจุดศูนย์กลางเดียวกัน (ไอโซโครนัส) ของชุดประกอบจักรกรอก-แฮร์สปริง ส่งผลให้มีความเที่ยงตรงแบบโครโนแมตริกมากขึ้นไม่ว่านาฬิกาจะอยู่ที่ตำแหน่งใด -
-
ความถี่ที่เหมาะสมที่สุด
ความถี่ที่ระดับ 28,800 ครั้งต่อชั่วโมง (8 ครั้งต่อวินาที) ช่วยให้เกิดกระบวน
การออสซิลเลชั่นที่เหมาะสมระหว่างความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือที่สุด
ของออสซิลเลเตอร์ -
-
บริดจ์สร้างสมดุลตัดขวาง
ส่วนประกอบที่ชื่อว่า บริดจ์สร้างสมดุลตัดขวาง ช่วยในเรื่องการกำหนดตำแหน่งที่เสถียรและเที่ยงตรงของออสซิลเลเตอร์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในระดับโครโนแมตริกของนาฬิกา ความแข็งของบริดจ์ช่วยเพิ่มความสามารถในการทนทานต่อแรงกระแทก -
-
สารหล่อลื่นประสิทธิภาพสูง
คุณภาพของสารหล่อลื่นมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ต่อการทำงานได้อย่างเหมาะสมของการทำงานทางกลไก Rolex ได้พัฒนาสารหล่อลื่นจำเพาะแบบใหม่ ที่ผ่านการสังเคราะห์ภายในพร้อมปรับปรุงคุณสมบัติในเรื่องอายุการใช้งานและภาวะเสถียร -
-
งานตกแต่งอันประณีต
แม้กลไกการทำงานของ Perpetual เป็นส่วนที่มีเพียงช่างทำนาฬิกาที่ Rolex รับรองเท่านั้นที่จะสามารถเปิดดูได้โดยใช้เครื่องมือเฉพาะ แต่กลไกเหล่านี้ได้รับการตกแต่งด้วยธรรมเนียมการทำนาฬิกาที่ละเมียดละไมที่สุด เพลทและเกียร์เทรนเป็นเม็ดทรงกลม บริดจ์เป็นชิ้นงานสำเร็จซาติน อาจเป็นเม็ดทรงกลมหรือทรงหอยโข่ง ขณะที่หัวสกรูขัดจนเป็นเงาสะท้อน และขอบทั้งหมดเป็นมุมเอียง
กลไกการทำงาน Perpetual ที่ซ่อนอยู่ในตัวเรือนกันน้ำยังเป็นส่วนที่ผู้สวมใส่จะมองไม่เห็น
SUPERLATIVE CHRONOMETER
ตราซีลสีเขียวที่รวมอยู่ในนาฬิกา Rolex ทุกรุ่นทุกเรือนคือสัญลักษณ์ความเป็น Superlative Chronometer ของนาฬิกา งานออกแบบเอ็กซ์คลูซีฟนี้ยืนยันได้ว่า นาฬิกาผ่านการควบคุมขั้นสุดท้ายเฉพาะโดย Rolex ภายในห้องปฏิบัติการของ Rolex ตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น นอกเหนือจากใบรับรองนาฬิกาอย่างเป็นทางการจาก COSC การทดสอบเฉพาะทั้งในเรื่องความเที่ยงตรงแบบโครโนมิเตอร์ของนาฬิกา คุณสมบัติในการกันน้ำ การไขลานอัตโนมัติ และการสำรองพลังงานนี้ คือการก้าวข้ามพรมแดนในเรื่องสมรรถนะและทำให้ Rolex กลายเป็นมาตรฐานด้านความเป็นเลิศของนาฬิกากลไก ตราซีลสีเขียวยังหมายถึงการรับประกันนาฬิกา Rolex ทุกรุ่นทุกเรือนเป็นเวลาห้าปี

-
ความแม่นยำระดับสูงสุด
กลไกการทำงานของ Rolex
-
-
-
ออสซิลเลเตอร์
ในนาฬิกากลไกออสซิลเลเตอร์ นับเป็นผู้พิทักษ์กาลเวลา อุปกรณ์ควบคุมชิ้นนี้ที่ประกอบด้วยแฮร์สปริงและจักรกรอกจะกำหนดความเที่ยงตรงของนาฬิกาผ่านการทำงานปกติของระบบออสซิลเลชั่น -
-
PARAFLEX
ตัวดูดซับแรงกระแทกพิเศษที่มีสมรรถนะสูง ได้รับการพัฒนาและจดสิทธิบัตรโดย Rolex ในปี 2005 ซึ่งพัฒนาความทนทานต่อแรงกระแทกของนาฬิกา Rolex ได้มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ -
-
เฟืองแกว่ง
คุณเคยสงสัยบ้างหรือไม่ว่าทำไมนาฬิกากลไกจึงมีเสียง "ติ๊ก-ต๊อก" เสียงติ๊กที่ได้ยินเกิดจากเฟืองแกว่ง เป็นส่วนหนึ่งในกลวิธีที่มีบทบาทสำคัญต่อการวัดผลเวลาของกลไกการทำงาน -
ที่มาของวลี
"Superlative chronometer officially certified"
เดิมทีนั้นนาฬิกาเรือนใดเรือนหนึ่ง ผู้ที่จะกำหนดให้เป็นโครโนมิเตอร์หรือไม่คือผู้ผลิต ความเป็นโครโนมิเตอร์คือเครื่องยืนยันถึงความเที่ยงตรงระดับสูง กระบวนการที่อาจเสี่ยงถูกบิดเบือนได้ เพื่อรับประกันคุณภาพของโครโนมิเตอร์ Rolex จึงได้เลือกนำเสนอเพื่อทำให้โครโนมิเตอร์ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาค่อนข้างมาก Rolex ยังได้เปลี่ยนคำอธิบายบนหน้าปัดจากคำว่า “Chronometer” เป็นคำว่า “Officially Certified Chronometer” ในช่วงปลายทศวรรษ 1930 เพื่อทำให้มองเห็นความแตกต่าง และในปี 1951 การรับรองอย่างเป็นทางการถือเป็นข้อบังคับ Rolex ตัดสินใจสร้างความแตกต่างด้วยการยื่นขอใบรับรอง avec mention (หรือใบรับรองสมรรถนะอันเป็นเลิศ) ตามกฎกติกาเดิมนั้น กลไกการทำงานใดที่ความเที่ยงตรงของกลไกนั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเหนือขั้นกว่าในการทดสอบหลายๆ ครั้ง จะได้รับใบรับรองพร้อมคำอธิบาย “particularly good results” หรือผลลัพธ์ที่ดีเป็นพิเศษ ในช่วงปลายทศวรรษ 1950 Rolex ได้เปิดตัวกลไกการทำงานรุ่นใหม่ที่มีความเที่ยงตรงมากกว่าเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาขอรับใบรอง mention ถึง 3 เท่า
